จุดเด่นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการศึกษาระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลนครนครราชสีมา จากตัวชี้วัด 12 ด้าน ได้ คะแนน อยู่ในระดับ “เข้าถึง” เป็น “องค์กรแห่งประโยชน์สุข” ซึ่งสะท้อนอยู่ในค่าคะแนนของตัวชี้วัดในแต่ละด้าน จุดเด่นของตัวชี้วัดในแต่ละด้านเรียงลำดับตามค่าร้อยละของคะแนนที่ได้จากมากไปน้อย ดังนี้
ตัวชี้วัดที่ 2 การวางแผนและจัดทำแผนอย่างมีส่วนร่วม ได้ 20 คะแนน คิดเป็น 100 % เทศบาลนคร นครราชสีมา มีการจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมทั้ง 4 ฝ่าย และในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย ภาคประชาชนมีส่วน ร่วมในการสังเกตการณ์และรับฟัง และร่วมสนับสนุนทรัพยากร โดยการรับฟังว่าประชาชนต้องการอะไร โดย ในการประชุมของสภาชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง มีการ Live สด ให้รับฟัง ว่าต้องการอะไรและนำเสนอความ ต้องการขึ้นมาเป็นลำดับ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการประชุม ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ปรับ วิธีการประชุมเป็นการเชิญผู้แทนมาเข้าร่วมประชุมและจัดให้มีการประชุมออนไลน์ ตัวอย่าง ชุมชนหลักร้อย เป็นสถานที่ในการจัดประชุมชี้แจงเรื่อง การวางท่อระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เป็นต้น ทั้งนี้ เทศบาล นครนครราชสีมา มีการประกาศแผนพัฒนาประจำปี เรื่องเร่งด่วน เผยแพร่ให้สาธารณชนรับทราบผ่านสื่อ ต่างๆ และกลุ่มผู้นำชุมชนยังได้เล่มแผนพัฒนาประจำปีเพื่อนำไปเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ชุมชนของตน รับทราบด้วย ส่วนการประกาศงบงบประมาณที่คงเหลือจากการดำเนินงานตามข้อบัญญัติ ให้สาธารณชน ทราบทุกไตรมาสจะมีการบันทึกและส่งให้กองยุทธศาสตร์ประชาสัมพันธ์
ตัวชี้วัดที่ 3 การวางแผนการทำงานเพื่อส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ได้ 15 คะแนน คิดเป็น 100 % เทศบาลนครนครราชสีมา แบ่งพื้นที่เป็น 4 เขต ในชุมชนแต่ละเขตมีกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ที่ทำกิจกรรมตามความสนใจ เช่น โครงการด้านกีฬา ด้านการศึกษา ด้านยาเสพติด เป็นต้น และมีการคัดเลือกเยาวชนในแต่ละชุมชนเข้าเป็น ตัวแทนในสภาเด็กของเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งสภาเด็กมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายหรือแผนงาน ร่วมกับภาคประชาชนและนำมาเป็นแผนงานของเทศบาล เช่น การนำเสนอข้อมูลและความต้องการจากกลุ่ม เยาวชนที่เล่นสเกตบอร์ด ในการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ ด้านข้าง TK Square Korat ให้มีความเหมาะสมและ ปลอดภัย เพื่อให้เยาวชนได้มีพื้นที่ในการแสดงความสามารถ โดยการปรับปรุงพื้นที่ อุปกรณ์ และโครงสร้าง ต่างๆ เป็นการวางแผนร่วมกัน นอกจากนี้ สภาเด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัวอบอุ่น กิจกรรมช่วยเหลือครู สอนเด็ก ครูอาสา กลุ่มเยาวชนร่วมกับจิตอาสา 904 ร่วมกันปลูกต้นไม้ พัฒนาลำน้ำ สวนคูเมือง รางระบายน้ำ ส่วนโครงการมัคคุเทศก์น้อยงดดำเนินการเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ทั้งนี้ มีเยาวชนที่เคยร่วมกิจกรรมของ สภาเด็กเข้ามาทำงานในเทศบาลฯ เช่น มาเป็นครูกีฬาในโรงเรียนกีฬา ทำให้มีการสืบทอดงานและส่งต่องาน จากรุ่นสู่รุ่น
ตัวชี้วัดที่ 4 งานโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ ได้ 15 คะแนน คิดเป็น 100 % เทศบาลนครนครราชสีมา มีโครงข่ายถนนที่เชื่อมต่อกันและเข้าถึงทุกชุมชน มีการบำรุงรักษาโครงข่ายถนน เพื่ออำนวย ความสะดวกในการสัญจรทุกฤดูกาล ทำให้ประชาชนทุกชุมชนมีความพึงพอใจ การจัดน้ำเพื่อการบริโภคมี ทั่วถึง พอเพียงทุกชุมชน มีหน่วยเฝ้าระวังคุณภาพน้ำตามโครงการของกรมอนามัยโลก (WHO) จากรายงาน พบว่าเป็นไปตามมาตรฐานทุกสัปดาห์ แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค (การเกษตรและอุตสาหกรรม) พื้นที่ การเกษตรของเทศบาลนครฯ อยู่ติดลำตะคองจึงมีน้ำเพียงพอ และอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลนครฯ เป็น อุตสาหกรรมขนาดเล็กจึงมีน้ำเพียงพอ การไฟฟ้า เทศบาลนครฯ ได้ช่วยประสานงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน เหตุขัดข้องต่างๆ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แม้ในเวลากลางคืนมีหน่วย บรรเทาสาธารณภัยอยู่เวรกลางคืนตลอด 24 ชั่วโมง การใช้และการส่งเสริมให้ใช้พลังงานทางเลือก ตามแผนพัฒนาเทศบาลนครนครราชสีมา (พ.ศ. 2561 – 2565) ในยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีโครงการก่อสร้างระบบโซล่าเซลล์สำหรับน้ำพุและกังหันเติม อากาศในคูเมืองที่ 5 (นารายณ์รังสฤษฏ์) และมีการจัดสรรงบประมาณ ในเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 และมีข้อเสนอโครงการจัดการพลังงานไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) สถานีสูบจ่ายน้ำอัษฎางค์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา โรงผลิต น้ำประปาบ้านใหม่หนองบอน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา และสถานีสูบน้ำเขื่อนลำแซะ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอโครงการ
ตัวชี้วัดที่ 6 งานโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม ได้ 20 คะแนน คิดเป็น 100 % เทศบาลนครนครราชสีมาได้จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษา มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 8 ศูนย์ คือ 1)ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนสามัคคีรถไฟ 2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ 3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านหลักร้อย 4) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กราชนิกูล 5) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสวนหม่อน 6) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเคหะประชาสามัคคี 7) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท้าวสุระซอย 3 8) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหนองไผ่ล้อม และมี อัตราส่วนของครูต่อเด็กปฐมวัยตามเกณฑ์ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ช่วยให้เด็กมีความสุขและได้รับการพัฒนา (ด้านการศึกษา) มีอุปกรณ์ เทคโนโลยี และเครื่องมือในการจัดการ เรียนการสอนที่เหมาะสม (ด้านการศึกษา)
งานสุขอนามัย การกำจัดยุงลาย มีการสนับสนุนและประสานงานการกำจัดยุงลาย โดยฉีดพ่นยา ป้องกันกำจัดยุงลายในชุมชน สถานศึกษา และหน่วยงานต่างๆ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก กลุ่ม อสม. มีการสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชนเพื่อกำจัดทุก 7 วัน การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า มีการสำรวจและ ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงภายในชุมชนเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ จากสัตว์สู่คน มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สัตว์เลี้ยงในชุมชน และสัตว์จรจัด มีการทำหมันสุนัขและ แมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงและจรจัด มีการจัดกิจกรรม Kickoff การป้องควบคุมโรคโควิด โรคไข้เลือดออก และโรค พิษสุนัขบ้า เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 มีการจับและเคลื่อนย้ายสุนัขจรจัดไปยังศูนย์พักพิงสุนัขจรจัดนครชัย บุรินทร์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มีกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำสาธารณสุขเพื่อเป็นเครือข่ายในการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคหูดับ โรคฉี่หนู เป็นต้น ไปยังชุมชน สถานศึกษา งานจัดการ ขยะ เทศบาลนครฯ มีการจัดการขยะตามประเภท มีระบบการเก็บขนขยะครอบคลุมทั้งเขตเทศบาลนครฯ มี การแยกถังตามประเภทขยะ และมีประกาศเวลาการจัดเก็บขยะตามข้อกำหนดของเทศบาลนครฯ มีระบบ กำจัดของเทศบาลนครฯ มีการนำขยะอินทรีย์ไปทำเป็นไฟฟ้า และมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ คัดแยกขยะ
ตัวชี้วัดที่ 8 งานด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้ 15 คะแนน คิดเป็น 100 % งานประเพณีที่สำคัญที่เทศบาลนครนครราชสีมา ได้มีการจัดงานสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ 1) งานวันขึ้นปีใหม่ 2) งานตรุษจีน 3) งานวันมาฆบูชา 4) งานฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี 23 มีนาคม ของทุกปี 5) งานประเพณีสงกรานต์ 6)งานวันวิสาขบูชา 7) งานประเพณีแห่เทียนพรรษา 8) เทศกาลกินเจ 9) งานประเพณีวันลอยกระทง 10) งานทอดกฐินสามัคคี นอกจากนี้ยังมีการจัดงานมหกรรมศิลปะนานาชาติครั้งที่ 2 Thailand Biennale, Korat 2021 ทั่วทุกบริเวณรอบอำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอพิมาย และอำเภอปากช่อง วันที่ 8 ธันวาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565 มีการจัดกิจกรรมร่วมกับ สสส. งดเหล้าเข้าพรรษา การอบรมศีลธรรมและจริยธรรมในเด็ก วัยรุ่น
ตัวชี้วัดที่ 10 การจัดการศึกษา สาธารณสุข และการจัดการขยะ ในระดับที่สูงขึ้น ได้ 20 คะแนน คิด เป็น 100 % โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา มีความโดดเด่นเชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างกัน ดังนี้ 1) โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ 2) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดสมอราย) มุ่งเน้นเด่นงานอาชีพ 3) โรงเรียนเทศบาล 3 (ยมราชสามัคคี) มุ่งเน้นความยอดเยี่ยมทักษะภาษา 4) โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านการช่าง 5) โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) มุ่งเน้น เรียนรู้พอเพียง เคียงคู่วิถีพุทธ เรียนฟรี มีรายได้เสริม และ 6) โรงเรียนกีฬาเทศบาล (อนุสรณ์ 70 ปี เทศบาล นครนครราชสีมา) มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านกีฬามุ่งสู่โอลิมปิก ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ในกองสวัสดิการสังคมของ เทศบาลนครฯ มีการช่วยเหลือเด็กเยาวชนที่ด้อยโอกาสให้ได้เรียนหนังสือต่อ โดยประสานหน่วยงานต่างๆ ให้ ช่วยเหลือดูแล เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ การสาธารณสุข เทศบาลนครฯ มีศูนย์พัฒนาฟื้นฟูผู้สูงอายุและผู้ พิการ (เพาะชำ) ให้บริการทั้งเชิงรับและเชิงรุก การจัดการขยะ มีการคัดแยกขยะที่ต้นทาง มีถังขยะแยก ประเภทให้ทิ้งให้ถูกถัง ขยะชิ้นใหญ่ เช่น ที่นอน ให้แจ้งประธานชุมชนเพื่อประสานต่อมายังเทศบาลนครฯ เพื่อ นำรถไปเก็บขน เทศบาลนครฯ มีระบบกำจัดมูลฝอยเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์และกระแสไฟฟ้า มีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชม การดำเนินงานระบบกำจัดมูลฝอยของเทศบาลนครฯ เป็นจำนวนมาก ในปีงบประมาณ 2563 มี 17 คณะ รวม 339 คน
ตัวชี้วัดที่ 11 การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น ได้ 20 คะแนน คิดเป็น 100 % เทศบาลนครนครราชสีมามีการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมในด้านต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่ (1) มีการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่จากอุบัติภัย เช่น การมอบเงินเพื่อช่วยเหลือ ผู้ประสบอัคคีภัยตลาดแม่กิมเฮง เมื่อวันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 การมอบเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยเมื่อวันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2563 มีการเข้าช่วยเหลือและแจกถุงยังชีพในเหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดนครราชสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2564 มีการจัดประชุมชี้แจงการวางท่อระบายน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม (2) มีส่วนร่วม ในการสร้างฝายชะลอน้ำ หรือฝายแม้ว ในพื้นที่ก่อนเข้าเทศบาลนครฯ (3) มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้หรือสร้าง จิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม เช่น การแจกกล้าไม้ให้ประชาชนไปปลูก (4) มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการปลูกต้นไม้ และ/หรือเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ เช่น ปรับปรุงพื้นที่สวนภูมรักษ์ ปรับปรุงพื้นที่คูเมือง เป็นต้น (5) มีส่วนร่วมในการจัดให้มีและบำรุงรักษาแหล่งน้ำสาธารณะในพื้นที่ เช่น มี เครื่องเพิ่มออกซิเจนในแหล่งน้ำสาธารณะ น้ำพุ (6) มีโครงการส่งเสริมให้แต่ละบ้านรักษาความสะอาด น่าอยู่ และปลอดภัย เช่น คัดแยกขยะ ปลูกต้นไม้ (7) มีส่วนร่วมในการจัดให้มีและบำรุงรักษาพื้นที่สาธารณะเพื่อการ พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนให้มากขึ้น เช่น ปรับปรุงสวนภูมิรักษ์ให้มีพื้นที่สีเขียวและสถานที่ออกกำลังกาย (8) มีส่วนร่วมกับศาสนสถานต่างๆ จัดให้มีสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ช่วยยกระดับการพัฒนาจิตใจของผู้ปฏิบัติได้ จริง ซึ่งในแต่ละชุมชนจะมีวัด และใช้พื้นที่วัดสร้างศาลาชุมชน เมื่อถึงวัดพระ หรือวันสำคัญทางศาสนาประชาชนในชุมชนก็ไปร่วมทำบุญ ปฏิบัติธรรม (9) มีส่วนร่วมดูแลและป้องกันอุบัติภัยทางถนนภายในพื้นที่ ได้แก่ ติดตั้งกระจกตามแยก มีกล้องวงจรปิดในพื้นที่บางส่วน มี อปพร. มีจิตอาสา ในพื้นที่อำนวยความสะดวก จราจร (10) มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การจัดการขยะ ห้ามเผา ขยะในชุมชน โครงการ Zero Waste ติดตามตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 ตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.2560 ที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ส่งเสริมและบูรณะฟื้นฟูระบบชุมชนเดิมให้ สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่ใหม่เพื่อกำหนดทิศทางการขยายตัวของชุมชนให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ (11) มีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยให้มีการดูแล รักษา และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สภาพแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น เช่น โครงการปลูกต้นไม้ในกระถาง พืชผักลอยฟ้า ผักคอนโด ปลูกต้นไม้รอบรั้ว พืชผักสวนครัวรั้วกินได้ การล้อมต้นไม้ เป็นต้น
ตัวชี้วัดที่ 1 การบริหารงานอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และไม่มีการทำผิดกฎหมาย ได้ 45 คะแนน คิดเป็น 90% โดยข้อที่ไม่ได้คะแนนเต็ม คือ ข้อ 1.2 ไม่มีการดำเนินงานใดที่ผิดกฎหมายและไม่ถูกร้องเรียนต่อ หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือหน่วยงานที่สูงกว่าในระดับอำเภอและ จังหวัดอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นายก อปท. คนปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ในข้อนี้พบว่า แม้ว่านายกเทศมนตรีคน ปัจจุบันจะดำรงตำแหน่งไม่ถึง 2 ปี ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดในข้อ 1.2 แต่สมัยนายกเทศมนตรีคนเดิมจนถึง นายกเทศมนตรีคนปัจจุบัน เทศบาลนครนครราชสีมาไม่มีการดำเนินงานใดที่ผิดกฎหมายและไม่ถูกร้องเรียน ต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ และทีมนายกเทศมนตรีคนเดิมและนายกเทศมนตรีคนปัจจุบันเป็นทีม เดียวกัน ข้อนี้จึงให้ 5 คะแนน จึงมีคะแนนรวม 45 คะแนน
ตัวชี้วัดที่ 7 งานด้านส่งเสริมอาชีพ ได้ 13 คะแนน คิดเป็น 86.67% โดยข้อที่ไม่ได้คะแนนเต็ม คือ ข้อ 7.1.2 สนับสนุนให้มีศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมธรรมชาติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เทศบาลนคร นครราชสีมายังไม่มีศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมธรรมชาติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ข้อนี้ได้ 3 คะแนน จึงมีคะแนนรวม 13 คะแนน
ตัวชี้วัดที่ 5 การบริหารงานภายในองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความสุข ได้ 43 คะแนน คิดเป็น 86% โดย ข้อที่ไม่ได้คะแนนเต็ม คือ ข้อ 5.4.2 มีหลักในเรื่องการใช้วาจาไพเราะ หรือปิยวาจาภายในองค์กร บุคลากรของ เทศบาลนครฯ ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลชี้แจงว่า ตามปกติทุกคนจะใช้วาจาสุภาพ แต่อาจมีบ้างที่อาจใช้เสียงดัง ทำให้ เหมือนไม่สุภาพ ทำให้ข้อ 5.4 ได้ 8 คะแนน ข้อ 5.5 บุคลากรในองค์กรเป็นผู้ที่มีความสุข บุคลากรมีความสุข จากบรรยากาศของการทำงานในที่ทำงานเหมือนเป็นบ้านหลังที่สอง แต่ไม่มีข้อมูลภาระหนี้สิน ทำให้ข้อนี้ได้ 5 คะแนน จึงมีคะแนนรวม 43 คะแนน
ตัวชี้วัดที่ 9 การบริหารงานภายในองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข ได้ 25 คะแนน คิดเป็น 83.33 % โดยข้อที่ไม่ได้คะแนนเต็ม คือ ข้อ 9.2 นายกเทศมนตรีคนปัจจุบันดำรงตำแหน่งมาประมาณ 6 เดือน แต่มีระบบการคัดเลือกตามแนวทางประชาธิปไตยแบบสมานฉันท์ ทำให้ข้อนี้ได้ 5 คะแนน จึงมีคะแนนรวม 25 คะแนน
ตัวชี้วัดที่ 12 การจัดการเพื่อลดปัญหาทางสังคมและเพิ่มสวัสดิการทางสังคมเท่าที่สามารถทำได้ ได้ 24 คะแนน คิดเป็น 80% โดยข้อที่ไม่ได้คะแนนเต็มมี 2 ข้อ คือ (1) ข้อ 12.1.3 ส่งเสริมให้มีการลด ละ เลิก การพนันทุกชนิดในพื้นที่ พบว่ามีกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกับ สสส. แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ 100 % ทำ ให้ข้อนี้ได้ 2 คะแนน (2) ข้อ 12.2.1 ลดปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของเยาวชนอายุ 18 ปี หรือต่ำกว่า พบว่า มีมาตรการลดปัญหา โดยการจัดกิจกรรมให้ความรู้ในโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่ พร้อมในวัยรุ่น และอสม.จะมีการรายงานให้กับสาธารณสุขทุกเดือน สสส. แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ 100% ทำให้ข้อนี้ได้ 2 คะแนน จึงมีคะแนนรวม 24 คะแนน