ถอดบทเรียน อบจ. สุพรรณบุรี อปท. ในระดับเข้าถึงความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง....

sepaction  avatar   
sepaction
จากการศึกษาระดับความเป็นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับ “เข้าถึง” ที่สะท้อนว่าเป็น “องค์กรแห่งป..

จุดเด่นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          จากการศึกษาระดับความเป็นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับ “เข้าถึง” ที่สะท้อนว่าเป็น “องค์กรแห่งประโยชน์สุข” โดยการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในองค์กร และนำไปสู่การสร้างประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในที่สุดนั้น พบว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี มีจุดเด่นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้

          องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี เป็น อปท. ขนาดใหญ่ รับผิดชอบพื้นที่ทั้งจังหวัด และสนับสนุนงบประมาณในโครงการเกินศักยภาพของ อปท. ในพื้นที่ มีจำนวนบุคลากรเพียงพอต่อการทำงาน และมีศูนย์เครื่องจักรกลของ อบจ. สุพรรณบุรี อยู่ในศูนย์อำเภอทุกอำเภอ ทำให้สามารถซ่อมแซมและบำรุงรักษาถนน สะพาน และปรับผิวจราจร ถนนภายในอำเภอได้จำนวนมาก ตลอดจนการติดตั้งไฟแสงสว่างจากพลังงานแสงอาทิตย์ตามถนนและจุดเสี่ยงความปลอดภัยต่าง ๆ อีกทั้งยังมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยส่งเสริมเยาวชนให้เล่นกีฬา โดยจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ ในระดับอำเภอและจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ในโครงการเยาวชนเงินล้าน ตลอดจนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนและสังคมสุพรรณบุรี โดยร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในการร่วมพัฒนาจังหวัด อบจ. สุพรรณบุรีมีคะแนนรวมจากตัวชี้วัดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ข้อ 1 2 และ 3 เท่ากับ 79 คะแนน ข้อ 5 เท่ากับ 47 คะแนน และรวมทั้งหมด 12 ข้อ มีคะแนนรวมเท่ากับ 270 คะแนน ระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของ อบจ. สุพรรณบุรี อยู่ในระดับเข้าถึง คือ เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข

          นายกเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนแปลงวิธีคิด ทั้งการเกษตรที่เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ เป็นเกษตรปลอดภัยมีคุณภาพสูง และการพัฒนาเยาวชน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิต ส่งเสริมให้เล่นกีฬา และการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน และกำลังอยู่ในระหว่างการรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลเข้ามาให้อยู่ในการสนับสนุนทางการเงินและการบริหารจัดการโดยอปท. ของจังหวัดสุพรรณบุรี

          เนื่องจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ในระดับเข้าถึง จุดที่ควรพัฒนา คือการมีการต่อยอดพัฒนาการทำโครงการเดิมอย่างต่อเนื่อง และเน้นการหนุนเสริมให้เกิดการทำงานเครือข่าย อปท. ในพื้นที่ ในเชิงประเด็น ที่เป็นความต้องการและเสริมการพัฒนาในระดับอำเภอ เช่น การจัดการขยะที่ต้นทาง หรือการทำเกษตรที่เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณเพื่อให้เกษตรกรมีการพัฒนาเครือข่ายและสนับสนุนการตลาดให้กับเกษตรกร อีกทั้งนำร่องโครงการที่ต่อยอดจากนโยบายและมาตรการในการขจัดหรือลดสารเสพติด การลดละเลิกสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอลส์ ตลอดจนการพนัน ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มสวัสดิการทางสังคมในพื้นที่เท่าที่สามารถทำได้

 

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น