การวิจัยเพื่อขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศไทย..

sepaction  avatar   
sepaction
โครงการนี้มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559

               โดยสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้เริ่มสนับสนุน การวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากเห็นความ สำคัญของงานนี้ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งในการสนองพระราชปรารภของพระบาท สมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยเห็นได้ชัดว่าถ้าจะขับเคลื่อนประเทศไทยให้มี การพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มมากขึ้น ยุทธศาสตร์สำคัญอยู่ ที่การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นฐานในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งประเทศ ซึ่งงานวิจัย ในลักษณะนี้จะต้องใช้นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ จึงเป็นการสร้าง

 

โครงการย่อยภายใต้โครงการนี้สำหรับงานที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อน อปท. ที่ได้ทำในระยะที่ 1 ที่ผ่านมาแล้ว ได้แบ่งออกเป็น 6 โครงการ

1) ภาคเหนือ ประกอบด้วย 4 จังหวัด โดยมี 2 จังหวัดอยู่ในภาคเหนือตอนบน คือ เชียงใหม่และลำพูน ซึ่งมีจำนวน อปท. ในส่วนนี้ 25 แห่ง ส่วน ภาคเหนือตอนล่างประกอบด้วย พิษณุโลกและอุตรดิตถ์ ที่ประกอบด้วย อปท. อีก 24 แห่ง รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน อปท. ทั้งหมด 49 แห่ง โดยมีคณาจารย์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์เป็นผู้รับผิดชอบ

คลิกเพื่อดาวน์โหลดรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 

 

2) ภาคอีสาน ประกอบด้วย ภาคอีสานตอนบน คือ จังหวัดบึงกาฬ ประกอบด้วย อปท. 5 แห่ง และอีสานใต้ คือ จังหวัดยโสธร อำนาจเจริญและศรีสะเกษ ประกอบด้วย อปท. จังหวัดละ 5 แห่ง รวมทั้งสิ้น 15 แห่ง เป็น อปท. ในภาคอีสานทั้งหมด 20 แห่ง โดยมีคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้รับผิดชอบ 

คลิกเพื่อดาวน์โหลดรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 


3) ภาคกลางตอนบนและภาคเหนือตอนใต้ ประกอบด้วย อปท. 6 แห่ง คือ ในจังหวัดนครสวรรค์ 3 แห่ง และในจังหวัดอุทัยธานี 3 แห่ง โดยมีนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์เป็นผู้รับผิดชอบ 

คลิกเพื่อดาวน์โหลดรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์


4) ภาคกลางตะวันออก ประกอบด้วย อปท. ในจังหวัดตราด จันทบุรี ชลบุรี สระแก้ว และฉะเชิงเทรา รวมทั้งสิ้น 6 แห่ง โดยมีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีเป็นผู้รับผิดชอบ

คลิกเพื่อดาวน์โหลดรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 


5) ภาคกลางตะวันตก ประกอบด้วย อปท. ในจังหวัดนครปฐม มี อปท. ที่เข้าร่วมโครงการ 4 แห่ง โดยมีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นผู้รับผิดชอบ 

คลิกเพื่อดาวน์โหลดรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 

  

6) ภาคใต้ ประกอบด้วย อปท. ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มี อปท. เข้าร่วมโครงการนี้ทั้งหมดอยู่ในอำเภอท่าศาลา 5 แห่ง โดยมีนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้รับผิดชอบ 

คลิกเพื่อดาวน์โหลดรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 

 

โดยสรุปคือ ในภาคเหนือ ประกอบด้วย อปท. 45 แห่ง ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ 20 แห่ง ภาคกลาง 16 แห่ง ภาคใต้ 5 แห่ง รวมทั้งสิ้น 86 แห่ง 

 

 

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น