ถอดบทเรียน อบต. นางตะเคียน อปท. ในระดับเข้าถึงความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง....

sepaction  avatar   
sepaction
องค์การบริหารส่วนตำบลนางตะเคียน ได้รับการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับ “เข้าถึง” สะท้อนการเป็น “องค์กรแห่งประโยชน์สุข”....

จุดเด่นการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

          องค์การบริหารส่วนตำบลนางตะเคียน ได้รับการประเมินระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับ “เข้าถึง” สะท้อนการเป็น “องค์กรแห่งประโยชน์สุข” โดยมีคะแนนของตัวชี้วัดแต่ละประเด็น จากการศึกษา พบว่า การบริหารงานการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ อบต. มีจุดเด่น 7 ประการ ดังนี้

 

3.1 การบริหารงานอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และไม่มีการทำผิดกฎหมาย ผู้บริหารทั้งฝ่ายราชการ ปลัด หัวหน้าคลัง หัวหน้าช่าง ฝ่ายการเมือง และภาคประชาชนได้ร่วมมือกันทำงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด โดยนายกคนปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 18 ปี ไม่มีการดำเนินงานที่ผิดกฎหมายและไม่ถูกร้องเรียนต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ การจัดชื้อจัดจ้าง ได้มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 พร้อมให้ทุกฝ่ายตรวจสอบได้ มีการต่อรองราคา และผลการต่อรอง ทำให้ราคาลดลงทุกโครงการ การประกวดราคา ในการจัดชื้อจัดจ้าง เป็นไปตามระเบียบ และโปร่งใส โดยตั้งราคาโครงการตามราคากลาง สำหรับนวัตกรรมที่แสดงถึงการดำเนินงานอย่างโปร่งใสนั้น อบต. มีนวัตกรรมการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความรอบคอบและโปร่งใสมากขึ้น รวม 2 นวัตกรรม มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องของการไม่รับของขวัญ รวมถึงผลประโยชน์อื่นใดในทุกโอกาสและเทศกาล “NO Gift Policy” และจัดเวทีให้ประชาชนรับทราบ และแต่งตั้งประชาชนในการตรวจรับร่วม เป็นการปฏิบัติที่นายกให้ความสำคัญในการให้ประชาชนเข้ามมีส่วนร่วม ในการเสนอปัญหาและความต้องการผ่านประชาคม และเปิดโอกาสให้มีผู้แทนประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเปิดตรวจรับงาน อย่างน้อยโครงการ 2 - 3 คน โดยมาจากการเสนอชื่อของประชาชนในชุมชนที่ทุกเห็นว่าเหมาะสม เช่น ประชาชนที่มีความรู้ ปราชญ์ ผู้นำชุมชน ฯลฯ และสามารถจัดการปัญหาเรื่องราวร้องทุกข์ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้

 

3.2 การวางแผนและจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วม อบต.นางตะเคียนมีการวางแผนและจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมทั้ง 4 ฝ่าย และประชาชนได้รับเชิญจาก อบต.นางตะเคียนให้เข้าร่วมประชุมในห้องประชุมสภา อบต. ประชาชนได้มอบที่ดินในการจัดทำถนน ตรวจดูหลักฐานการมอบที่ดิน และมีการประกาศแผนพัฒนาประจำปี ให้ทราบล่วงหน้าทางเว็บไซต์ บอร์ดหน้า อบต. อำเภอ จังหวัด ทำข้อบัญญัติ ประกอบด้วยแผนพัฒนาประจำปีให้ทราบล่วงหน้า และประกาศงบประมาณที่คงเหลือจากการดำเนินงานตามข้อบัญญัติ  ทาง GEP ป้ายหน้า อบต. ทุกเดือน เข้าประชุมสภา 2 ไตรมาศ ต่อครั้ง (ตามเวลาที่สภาเปิดการประชุม)

 

3.3 งานโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ สำหรับการสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย ถนน น้ำเพื่อการบริโภค แหล่งน้ำเพื่ออุปโภค (การเกษตร) ไฟฟ้า พบว่า อบต. ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ได้รับการร้องขอจาก อปท. ในพื้นที่ โดยมีการเข้าไปสำรวจว่ามีความจำเป็นหรือความชำรุดเสียหายจริง ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค มีหน่วยงานของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เข้ามาดำเนินการและต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2555 การประปาส่วนภูมิภาค  ได้ขยายเขตประปาภูมิภาคในเขตตำบลนางตะเคียนเป็นบางส่วน และในปี 2561

 

3.4 การบริหารงานภายในให้เป็นองค์กรแห่งความสุข  ภายในองค์กรมีการจัดการความรู้อย่างสม่ำเสมอ มีการประชุมพนักงานในองค์กรทุกเดือน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน และสามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้  ดูรายงานการประชุมพนักงานในองค์กรทุกเดือน มีการประชุมพนักงานในองค์กรทุกเดือน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน และสามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้ ดูรายงานการประชุมพนักงานในองค์กรทุกเดือน เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่อยู่ ทุกคนสามารถทำแทนกันได้  มีการช่วยเหลือกันปฏิบัติงาน จากการสังเกตการณ์ สอบถามประชาชนในชุมชน ให้ข้อมูลว่า บุคลากรในองค์กร มีความสามัคคี ช่วยเหลืองานซึ่งกันและกัน ผู้บังคับบัญชามีมุทิตาจิตและอุเบกขาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา แต่พบว่าบุคลากรร้อยละ 50 มีภาระหนี้สินและปลอดจากอบายมุข  

 

3.5 สังคมและวัฒนธรรม ในการส่งเสริมงานด้านสังคมและวัฒนธรรม อบต. มีการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนอบรมธรรมที่วัดลาดเป้ง และวัดเกตุการาม มีการจัดงานบุญประเพณีใหญ่ประจำปี มีผู้ร่วมงานทั้งใน และนอกพื้นที่ คือ งานไทยทรงดำ งานลอยกระทง งานกวนกระยาสารททิพย์ งานบวชเณรภาคฤดูร้อน ที่วัดลาดเป้ง งานอุปสมบทหมู่ที่วัดลาดเป้ง และอบต. ได้อุดหนุนงบประมาณการจัดกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี มีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างชุมชนกับศาสนสถาน รวมถึงมีการจัดอบรมจิตใจให้ประชาชนเป็นผู้มีศีลธรรม มีความประพฤติดี

 

3.6 การบริหารงานภายในให้เป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุข  สมรรถนะการประหยัดงบประมาณด้านเงินเดือนและค่าจ้างบุคลากรประจำ พบว่า เมื่อปี 2564 อบต. มีรายรับรวมทุกประเภท 40,099,466.19 บาท มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร 9,153,060.25 บาท คิดเป็นร้อยละ 22.83  และนายก อบต. คนปัจจุบัน เป็นนายกที่ได้รับการเลือกเข้ามาทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 18 ปี โดยบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ยึดถือกฎระเบียบเป็นหลัก มีความโปร่งใส ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน

 

3.7 การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น อบต.จัดโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  มีส่วนร่วมในการส่งเสริมปลูกต้นไม้  จัดให้มีการบำรุงรักษาแหล่งน้ำสาธารณะ  มีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมให้แต่ละบ้านรักษาความสะอาดน่าอยู่และปลอดภัย  มีส่วนร่วมจัดให้มีการบำรุงรักษา พื้นที่สาธารณะ ร่วมกับศาสนสถานจัดให้มีการปฏิบัติธรรมที่มีคุณภาพ มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ช่วยให้มีการดูแล รักษา และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมมี จิตอาสาเก็บผักตบชวา ปล่อยกุ้ง ปล่อยปลา ช่วยทำความสะอาดวัด โรงเรียน จิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น